วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551

แผนจัดการเรียนรู้ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

แผนจัดการเรียนรู้ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง(back ward design)
1.สาระสำคัญ
สิ่งมีชีวิต ทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ มักจะดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ในพื้นที่แห่งใดแห่งหนึ่งในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เรียกสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ว่าประชากร เช่นประชากรมนุษย์ ประชากรผึ้ง ประชากรข้าวโพด เป็นต้น
2.จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สำรวจลักษณะระบบนิเวศในท้องถิ่นได้
2. อธิบายลักษณะของระบบนิเวศในท้องถิ่นได้
3. มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในระบบนิเวศในท้องถิ่นได้
3.สาระการเรียนรู้
1. สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
2. ระบบนิเวศ
3. องค์ประกอบของระบบนิเวศ
4. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต
5. แนวทางรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
4.กิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ กระบวนการกลุ่ม)
- แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ และทำแบบทดสอบก่อนเรียน
ความเข้าใจที่คงทน
 ความรู้
1. ความหมายและองค์ประกอบในระบบนิเวศ
2. การถ่ายทอดพลังงาน และวัฏจักรของสารในระบบนิเวศ
3. การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. ผลของสารเคมีและปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งแวดล้อม
 ทักษะ/กระบวนการ
- กระบวนการกลุ่มแบบประเมินการกลุ่ม
- กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์



 คุณลักษณะที่พึงประสงค์
- รู้จักคิดวิเคราะห์
- มีความรับผิดชอบ
- เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
ทักษะการเรียนรู้ร่วมวิชา
- ทักษะการเขียน –แบบประเมิน
- ทักษะการพูด-แบบประเมิน
 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูให้นักเรียนศึกษาภาพนำหน่วย เพื่อให้นักเรียนเห็นถึงความสำคัญของระบบนิเวศ และผลกระทบที่เกิดจากการทำลายระบบนิเวศ ซึ่งมีผลถึงความสมดุลและความยั่งยืนของระบบนิเวศ

 ขั้นกิจกรรมพัฒนาทักษะผู้เรียน
1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 – 6 คน ทำแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่ 6.1 และ 6.2 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว และทำความเข้าใจกับระบบนิเวศใน บ่อน้ำ
2. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปผลการทำแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่ 6.1 และ 6.2
3. นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบนิเวศ และร่วมกันอภิปรายบทบาทหน้าที่ขององค์ประกอบต่างๆ ในระบบนิเวศ ที่ศึกษาจากแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่ 6.1 และ 6.2
4. นักเรียนแต่ละกลุ่มทำแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่ 6.3 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทเป็น ผู้ย่อยสลาย
5. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ขององค์ประกอบต่างๆ ในระบบนิเวศ
6. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 – 6 คน ศึกษาข้อมูลเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และทำแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่ 6.4 ในหนังสือเรียน
7. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำใบงานที่ 1.1 โดยศึกษาข้อมูลจากหนังสือและสื่อต่างๆ
8. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียน

 ขั้นสรุป
1. นักเรียนแต่ละคนทำแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ในหนังสือ
2. ครูและนักเรียนช่วยกันตรวจคำตอบ และประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน
4.สื่อการเรียนรู้

1. สื่อสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สัมฤทธิ์มาตรฐาน วิทยาศาสตร์ ม.3 เล่ม 1
2. หนังสือแบบเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สสวท.
3. ใบงานที่ 1.1 การรักษาสมดุลระบบนิเวศ
4. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ www.aksorn.com/Lib/s/Sci_01
5.การวัดผลประเมินผล
1) วิธีการวัดและประเมินผล
1. ตรวจใบงานที่ 1.1
2. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
3. สังเกตพฤติกรรมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนรายบุคคล
5. สังเกตพฤติกรรมการพูด
6. ตรวจแบบทดสอบ
2) เครื่องมือวัดและประเมิน
1. ใบงานที่ 1.1
2. แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
3. แบบประเมินความสามารถด้านทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
4. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนรายบุคคล
5. แบบประเมินพฤติกรรมการพูด
6. แบบทดสอบ
3) เกณฑ์การวัดและประเมินผล
1. ใบงานที่ 1.1 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50
2. แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม (รายละเอียดอยู่ในแบบประเมิน)
3. แบบประเมินความสามารถด้านทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
(รายละเอียดอยู่ในแบบประเมิน)
4. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนรายบุคคล (รายละเอียดอยู่ในแบบประเมิน)
5. แบบประเมินพฤติกรรมการพูด (รายละเอียดอยู่ในแบบประเมิน)
6. แบบทดสอบ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50

ไม่มีความคิดเห็น: